La French Tech, hier, aujourd’hui et demain

  • Home
  • La French Tech, hier, aujourd’hui et demain

โครงการเฟรนช์เทค ประเทศฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีนักวิทยาศาสตร์และนักอุตสาหกรรมผู้มีชื่อเสียงโดดเด่นเป็นจำนวนมากยกตัวอย่างเช่นบุคคลที่ปรากฏอยู่ในภาพนี้ เราจะเริ่มกล่าวถึงโดยการให้เกียรติสุภาพสตรีก่อน มารี กูรี (Marie Curie) เป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบลสองครั้งจากงานที่ได้ศึกษาค้นคว้าร่วมกับ ปิแอร์ กูรี (Pierre Curie) ผู้เป็นสามี ในสาขาฟิสิกส์และสาขาเคมี ต่อมาคือบุคคลที่เคยได้รับรางวัลโนเบลเช่นกัน นั่นก็คือ ฟรองซวส บาร์เร-ซินูสซี (FrançoiseBarré-Sinoussi) และลุค มงตาญนิเยร์ (Luc Montagnier) นักวิทยาศาสตร์ทั้งสองเป็นผู้ค้นพบเรโทรไวรัสซึ่งเป็นสาเหตุของโรคภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือโรคเอดส์ขึ้นเป็นครั้งแรก และสิ่งที่จะลืมไปไม่ได้ก็คือบทบาทสำคัญของปาสเตอร์ (Pasteur) ในการเป็นผู้คิดค้นวัคซีน ส่วนพี่น้องตระกูลลูมิแยร์ (Lumière) ผู้เป็นอัจฉริยะนักประดิษฐ์ก็มีบทบาทโดดเด่นในประวัติศาสตร์ของการถ่ายภาพและวงการภาพยนตร์ ชื่อของพวกเขาเหล่านี้อยู่ในบัญชีรายชื่อบุคคลสำคัญที่สร้างชื่อให้ฝรั่งเศสกลายเป็นประเทศผู้บุกเบิกในเทคโนโลยีหลายสาขา ตั้งแต่รถไฟความเร็วสูงจนถึงเทคโนโลยีการบินและอวกาศ ซึ่งปัจจุบันมีบริษัทสัญชาติยุโรปอย่างแอร์บัส (Airbus) และอาริอาน (Ariane) เป็นผู้นำในด้านนี้ นอกจากนี้ ยังรวมถึงเทคโนโลยีการเกษตร การขนส่ง พลังงานหมุนเวียน หรือแม้แต่ปัญญาประดิษฐ์อีกด้วย พิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ (Cité des Sciences et de l’Industrie) ณ กรุงปารีส และโรงภาพยนตร์โดมกระจกทรงกลม (la Géode) ที่เห็นในภาพนี้ได้สะท้อนเรื่องราวความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ทั้งส่วนบุคคลและส่วนรวมให้เป็นที่ประจักษ์ ความสำเร็จเหล่านี้เองที่สร้างให้เกิดระบบนิเวศของธุรกิจประเภทสตาร์ทอัพในปัจจุบันซึ่งเป็นที่รู้จักภายใต้เครื่องหมายรับรอง “เฟรนช์เทค” (French Tech)

ประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศสได้ดำเนินความร่วมมือระหว่างกันในหลายมิติโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณรู้จักดาวเทียมธีออส 2 (THEOS 2) หนึ่งในตัวอย่างของความร่วมมือดังกล่าวหรือไม่ ปีพ.ศ 2566 ที่จะถึงนี้ ได้รับการคัดเลือกให้เป็นปีแห่งนวัตกรรมไทย-ฝรั่งเศส เตรียมตัวพบกับกิจกรรมที่จะจัดขึ้นได้เร็วๆ นี้

Antonina LEONARD, 5eme D